Popular Posts

Wednesday, February 27, 2013

ส่งออกสินค้าทำกันยังไง

ส่งออกสินค้าทำกันยังไง

STEP 1: การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ

     โดยปรกติแล้ว การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ถือเป็นความฝันของนักธุรกิจทุกคน ใคร ๆก็ย่อมอยากนำเงินสกุลอื่น ๆเข้าประเทศ คิดดูง่าย ๆว่าประชากรไทยมี 60 ล้านคน แต่ประชากรทั่วโลกมีหลายพันล้านคน ไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่ขายไม้จิ้มฟันให้คนจีนก็รวยล้นฟ้าแล้วครับ



     ที่ผมพูดมานี่คือความฝันของคนทั่วไป ที่ยังคงไม่ตื่นจากภวังค์ การมีเป้าหมายถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่ายซะทีเดียว วันนี้ผมถามคุณว่า หากคุณต้องการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ คุณต้องทำเช่นไร หลายคนคิดอยู่นาน แต่สุดท้ายก็ไม่มีคำตอบ เพราะ ณ ปัจจุบันผมมองเห็นแค่ 2 วิธีที่ดีสุดในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ คือ

      1. ออกงานแฟร์ตามประเทศต่าง ๆ ที่เป็นเป้าหมายของเรา

      2. เปิดเว็บไซต์ และหาลูกค้าโดยการโปรโมตสินค้าของเราทางอินเตอร์เน็ต

     หากคุณเลือกใช้วิธีแรก คุณจำเป็นต้องลงทุนสูงมาก โดยหวังว่าผลตอบแทนจะกลับมาในรูปแบบของออเดอร์ใหญ่หรือลูกค้าประจำ ซึ่งอาจจะต้องใช้การคาดหวังสูง และความเสี่ยงสูงเช่นกัน

      แต่หากคุณเลือกวิธีการเปิดเว็บไซต์และหาลูกค้าผ่านทางเว็บไซต์ International Trade เช่น Alibaba.com, ebay.com, tradeindia.com or Globalsources.com คุณจะเสียค่าใช้จ่ายในการทำโปรโมตน้อยมาก ๆ หรืออาจจะไม่จำเป็นต้องเสียเงินแม้แต่บาทเดียว หากคุณทำเป็น

     ดังนั้น สิ่งที่ผมจะสรุปก็คือ เราสามารถเลือกได้ว่าเราจะทำตลาดอย่างไร มหาเศรษฐีโลกอย่าง บัฟเฟตต์เลือกที่จะทำธุรกิจที่ไม่เหมือนใคร แต่ต้องมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นเฉพาะตัว หากเรายังเลือกทำธุรกิจที่เหมือนชาวบ้าน เราก็อาจจะล้มเหลวเหมือนคนส่วนใหญ่ (ผลวิจัยของธุรกิจ SME ประเทศไทย วิเคราะห์ออกมาว่า 90% ของธุรกิจขนาดเล็กปิดตัวภายในปีแรกที่ทำ)

     ดังนั้น การทำธุรกิจที่ไร้ความเสี่ยง แต่ต้องใช้ความพยายามที่จะเรียนรู้และแสวงหาความรู้อย่างธุรกิจออนไลน์ ถือเป็นโอกาสแห่งความสำเร็จที่น่าศึกษาและเป็นเทรนด์แห่งอนาคต

โดยขั้นตอนการส่งออกสินค้ามีดังนี้

1. การหาสินค้าและวิเคราะห์สินค้า

      หาสินค้าให้ตรงกับความต้องการ สามารถดูได้ดังนี้

      Google Insight

      Google Trend

      Google Analytics

      Google Alert

      Alexa.com

      Alibaba

      eBay

2. ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงเลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

      การศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าหรือนิสัยของลูกค้า ต้องเน้นการหาข้อมูลเชิงวิเคราะห์ ไม่สามารถดูได้จากเว็บไซต์ในเมืองไทยหรือดูทีวีก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน ดังนั้น การหาข้อมูลของลูกค้าต้องใช้เครื่องมือต่าง ๆมากมายจากต่างประเทศ รวมถึงต้องรู้พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าด้วย เช่น การซื้อขายสินค้าในไทยจะมีอิทธิพลมาจากการตลาดแบบ WOM(ปากต่อปาก) เช่น ถ้าคุณอยากไปเที่ยวที่ไหน คุณจะเข้าไปดูรีวิวเพื่อประกอบการตัดสินใจ แต่ถ้าเป็นต่างประเทศ การที่เขาจะซื้อสินค้าสักหนึ่งชิ้น เขาจะต้องดูเรื่อง technical detail คือรายละเอียดของสินค้าหรือสเป๊คเป็นหลัก หรือลูกค้าต่างประเทศบางกลุ่มจะซื้อสินค้าผ่าน Sale Page เท่านั้น ดังนั้น การคัดเลือกลูกค้าต้องใช้หลักของ Me Too คือ ศึกษาว่าผู้ขายส่วนใหญ่ทำเช่นไร เราก็ทำตาม เพื่อลดความเสี่ยงในการผิดพลาดครับ

 3. วิธีการโปรโมตสินค้าให้เข้าถึงลูกค้า

      การทำตลาดถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนุกที่สุด และก็เป็นสิ่งที่ผู้ขายชาวไทยอ่อนที่สุดด้วยเช่นกัน สังเกตจากผู้ขายชาวไทยส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาเว็บไซต์เสียเงินค่าธรรมเนียมเช่น ebay, ioffer, amazon เพื่อให้ขายสินค้าได้ แต่กลับไม่เลือกที่จะเปิดเว็บไซต์ส่วนตัวและโปรโมตแบบกลยุทธ์เหยียบไหล่ยักษ์(ฝากตามเวปดังๆ) ซึ่งถือเป็นวิธีการทำตลาดที่ยั่งยืนที่สุด ดังนั้น การโปรโมตสินค้าถือเป็นสิ่งที่คนไทยต้องฝึกฝนและอัพเดตความรู้ให้มากกว่านี้ โดยการโปรโมตสินค้า สามารถทำได้หลัก ๆดังนี้

      SEO

      Classified Marketing

      Email Marketing

      Facebook Marketing

      Twitter

      WOM Board

      PPC

 4. เทคนิคการปิดการขาย

     สิ่งสำคัญที่สุดของธุรกิจคือ SPEED ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะทำสิ่งใดก็ตาม หากคุณสามารถตัดสินใจได้เร็วกว่า ลงมือทำก่อนคนอื่น ขยันกว่าคนอื่น ทำงานเร็วกว่าคนอื่น และไม่ครวญครางกับอดีต ไม่ฝันถึงอนาคต ลงมือทำในวันนี้ให้ดีที่สุด ท่านก็จะไม่มีทางพบกับความล้มเหลวในชีวิต

     คำว่า SPEED ในความหมายของผม คือคุณต้องตอบอีเมล์ทุกฉบับของลูกค้าภายใน 12 ชม. และส่งของให้ลูกค้าให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าลืมนะครับ การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต้องมีลูกค้าประจำให้มากที่สุด เพราะรายได้หลักของบริษัทจะมาจากลูกค้าเหล่านี้นะครับ



5. ติดต่อชิบปิ้ง และส่งออกสินค้า

     สำหรับการส่งสินค้าสามารถเลือกได้ 2 ประเภท ก็คือทางอากาศและทางทะเล ซึ่งจะเรียกว่าAir Freight & Sea Freight หากสินค้าเป็นสินค้าชิ้นเล็ก น้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม ควรเลือกส่งทางเครื่องบิน แต่หากน้ำหนักเกิน 50 กิโลกรัมหรือเท่ากับไซส์หนึ่งคิวบิดเมตรให้เลือกส่งเรือ อย่างไรก็ตาม หากสินค้าน้ำหนักอยู่ระหว่าง 20 – 50 กรัม จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลูกค้าว่าจะส่งเรือหรืออากาศ เนื่องจากการส่งทางเรือจะกินเวลาในการส่งค่อนข้างนาน แต่หากส่งทางเครื่องบินจะใช้เวลาเร็วกว่ามาก โดยส่วนมากหากเป็นสินค้าตัวอย่าง ลูกค้ามักจะเลือกส่งทางอากาศเป็นหลัก เนื่องจากสินค้าไม่เยอะ และต้องการเห็นสินค้าตัวอย่างเร่งด่วน


 STEP 2: การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

หลายคนคงจะคิดเหมือนผมว่า หากเราต้องการส่งออกสินค้า เราสามารถไปกรมส่งเสริมการส่งออกได้ แต่หากต้องการนำเข้าสินค้ามาขายในประเทศไทย ทำไมไม่มีกรมส่งเสริมการนำเข้าบ้าง คำตอบนี้ตอบไม่ยากครับ รัฐบาลไทยส่งเสริมการส่งออกสินค้ามาก ๆ เพราะถือว่าการส่งออกสินค้าไทยไปต่างประเทศเป็นการนำเงินเข้าประเทศหรือเรียกง่าย ๆว่าได้ดุลการค้าจากต่างชาตินั่นเอง สังเกตุว่าช่วงหลังมานี้ ประเทศจีนเป็นประเทศที่จะก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของโลกในอนาคต ด้วยเหตุผลที่ว่า ประเทศจีนได้ดุลการค้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากและเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่สำคัญของโลก ดังนั้นการที่ประเทศใด ๆ มีการนำเข้าสินค้ามากกว่าการส่งออกสินค้า ถือได้ว่าขาดดุลการค้า ซึ่งการจะป้องกันการเสียดุลการค้า สามารถทำได้โดยตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าให้สูง จะทำให้ราคาสินค้านำเข้าแพงกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศนั่นเอง

     แต่อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาขายในไทย ถือว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก หลายคนได้กำไรเป็นกอบเป็นกำจากการขายสินค้าในประเทศไทย เนื่องจากสินค้าต่างประเทศจะมีความแตกต่าง มีเอกลักษณ์ สินค้านำเข้าส่วนมากจะราคาถูกและคุณภาพดี ซึ่งเกิดจากความเชี่ยวชาญของผู้ขายในการคัดเลือกสินค้าและต่อรองกับซัพพลายเออร์ต่างประเทศ ทำให้ได้ของดี ราคาถูกนั่นเอง



โดยขั้นตอนการนำเข้าสินค้ามีดังนี้

1. การหาสินค้า และวิเคราะห์พิกัดภาษีนำเข้า

     สำหรับการนำเข้าสินค้า ทุกคนจำเป็นต้องศึกษาขั้นตอนการนำเข้าของกรมศุลกากรทั้งหมดซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดและซับซ้อน อย่างไรก็ตาม คุณสามารถลดขั้นตอนการนำเข้าได้ด้วยการใช้บริการบริษัทชิบปิ้งที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย แต่ต้องระวังการเลือกใช้ชิบปิ้งให้มาก เนื่องจากชิบปิ้งแต่ละเจ้ามีวิธีการนำเข้าที่ไม่เหมือนกัน บางรายอาจจะคิดค่าบริการถูก แต่มีปัญหาตามหลัง บางรายไม่ได้เป็นมืออาชีพก็จะทำให้สินค้าเราสูญหายหรือชำรุดได้

     สำหรับการหาสินค้า เราต้องศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย ซึ่งจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็แสนยาก เนื่องจากเราไม่สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆในเมืองไทยได้ เช่น หากเราต้องการจะรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคในต่างประเทศ เราสามารถใช้ Google Insight ได้ แต่ในเมืองไทย คุณไม่สามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้ ดังนั้น การหาสินค้าให้แม่นยำ 100% เพื่อนำมาขายในประเทศไทยนั้น ถือว่ายากกว่าการทำตลาดในต่างประเทศค่อนข้างมากครับ

2. ติดต่อชิบปิ้งเพื่อนำเข้าสินค้า

      การคัดเลือกบริษัทชิบปิ้งเพื่อนำสินค้าเข้าเมืองไทย ต้องพิถีพิถันในการเลือกค่อนข้างมาก เพราะต้องราคาถูกและไม่มีปัญหาตามมาในภายหลัง โดยเฉพาะสินค้าบางชนิด ต้องนำเข้าในลักษณะพิเศษ ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องศึกษาอย่างละเอียดก่อนใช้บริการชิบปิ้งใด ๆ

3. การสร้างเว็บไซต์เพื่อขายสินค้า

     หากต้องการทำตลาดในประเทศไทย คุณจำเป็นต้องมีเว็บไซต์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของผู้ขาย ซึ่งถ้าคุณสร้างเว็บไซต์ไม่เป็นหรือไม่อยากเสียเงินจ้างทำเว็บไซต์แพง ๆ คุณก็อาจใช้บริการของร้านค้าออนไลน์ ซึ่งก็ถือว่าง่ายและสะดวกสำหรับการทำธุรกิจค้าขายออนไลน์ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถปรับเว็บไซต์ได้ตามใจเรา แต่ก็ประหยัดงบประมาณและสามารถสร้างเว็บไซต์ได้เร็วทันใจและเริ่มทำธุรกิจได้ทันที

4. วิธีการทำตลาดในประเทศไทยผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

     ก่อนอื่นเลย เราต้องเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าชาวไทยก่อน โดยคนไทยส่วนใหญ่นิยมหาสินค้าผ่านทาง Google.com, Classified Website, Webboard และ Facebook ตามลำดับ โดยเราจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิธีการทำตลาดในแต่ละรูปแบบให้เชี่ยวชาญ  เนื่องจากปัจจุบันการซื้อขายสินค้าบนโลกออนไลน์ ถือเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง และเป็นที่ยอมรับของเหล่านักช็อป เนื่องจากง่าย ประหยัดเวลา ราคาถูกและสะดวก ดังนั้น การศึกษาการตลาดแต่ละชนิด ถือว่าเป็นหัวใจของความสำเร็จ ซึ่งเราควรจะใส่ใจให้มาก ๆ

5. วิธีการโอนเงินและส่งสินค้า

      การปรับทัศนคติของผู้ขาย ในเรื่องของการโอนเงินถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ผู้ขายหลาย ๆคนไม่มั่นใจว่าคนซื้อจะกล้าโอนเงินให้จริง ๆหรือ จะเช็คยอดเงินกับธนาคารอย่างไร ทำอย่างไรถึงจะให้ผู้ซื้อมั่นใจว่าเราเป็นผู้ขายที่ดี เราจะตั้งราคาค่าจัดส่งอย่างไรให้เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ส่วนที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่เรื่องของการชำระเงินแต่เป็นทำอย่างไรให้ขายดีต่างหาก

ที่มา http://www.thebiz.in.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539410751

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม 

จุดประสงค์การเรียนรู้ (ปลายทาง)            

   ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในความหมายและบอกประเภทของผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบุอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มได้ สามารถคำนวณและบันทึกบัญชีได้อย่างถูกต้อง 

จุดประสงค์การเรียนรู้ (นำทาง)

1.  อธิบายความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่มได้
2.  บอกประเภทของผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้
3.  อธิบายภาษีซื้อ ภาษีขาย  ฐานภาษีและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มได้
4.  บอกประเภทเอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มได้              
5.  คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
6.  บันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มได้
7.  ฝึกผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อน และคนรอบข้าง
สาระสำคัญ
1.   ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่จัดเก็บจาการขายสินค้าหรือให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการภายในประเทศ หรือมาจากต่างประเทศ โดยเก็บเฉพาะส่วนที่เป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้น
2.    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่ 
2.1     ผู้ประกอบการ
2.2    ผู้นำเข้า
2.3    ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.4    กิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักร3.    ในปัจจุบัน (พ.ศ.  2550) อัตรา
           ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ  หรือ  ได้รับคืน  =    ภาษีขาย  -   ภาษีซื้อ
 5.   ภาษีซื้อ  คือ ภาษีที่ผู้ประกอบการจ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ  ภาษีซื้อเกิดขึ้นเดือนไหน ให้ถือเป็นภาษีซื้อของเดือนนั้น

6.   ภาษีขาย  คือ  ภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ  ภาษีขายเกิดขึ้นเดือนไหน  ก็ให้ถือเป็นภาษีขายของเดือนนั้น

7.   หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ จัดทำใบกำกับภาษี  รายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม  และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือนภายในวันที่  15  ของเดือนถัดไป

 เนื้อหา
1.    ความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.    ภาษีซื้อ  ภาษีขาย   ฐานภาษีและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.    เอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
5.    การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
6.    การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.  ความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่ม     อรุณี  อย่างธารา และคณะได้กล่าวถึงภาษีมูลค่าเพิ่มว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม  (Value Added Tax หรือใช้ตัวย่อว่า  VAT)  คือภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิตสินค้าหรือบริการ และการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ โดยผู้ประกอบการเป็นผู้มีหน้าที่เก็บจากลูกค้า  แล้วนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปชำระให้แก่รัฐบาล  ผกาพรรณ  พรหมสาขา ณ สกลนคร ให้ความหมายภาษีมูลค่าเพิ่มว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม  หมายถึง  ภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าและบริการของผู้ผลิตสินค้า หรือผู้บริการ  ผู้นำเข้า  โดยจัดเก็บเฉพาะมูลค่าที่เพิ่มขึ้น  การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีขอบเขตกว้างขวาง และครอบคลุมทุกขั้นตอนในการผลิตการจำหน่ายและให้บริการ เบญจมาศ  อภิสิทธิ์ภิญโญ  และคณะ กล่าวถึงภาษีมูลค่าเพิ่มว่า     

 ภาษีมูลค่าเพิ่ม  เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอน    การผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการเหล่านั้น  ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ  โดยส่วนที่เก็บเพิ่มนั้นเรียกว่า  “มูลค่าเพิ่ม” ภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะทำการเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการต่างๆ   ที่เป็นคนสุดท้าย รวมถึงการเก็บภาษีทุกขั้นตอนของการผลิตหรือการขายสินค้าหรือการให้บริการ จากนั้นผู้ประกอบการจะนำภาษีที่เก็บได้ส่งให้กับสรรพากรทุกเดือน              

สรุป   ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้าทั้งที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศหรือเป็นผู้ได้รับบริการคนสุดท้าย  ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ผู้บริโภคคนสุดท้ายจะจ่ายภาษีซื้อ 7% ในตอนซื้อสินค้า  และเรียกเก็บภาษีขาย 7% ในตอนขายสินค้า เมื่อสิ้นเดือนจะนำภาษีซื้อและภาษีขายมาหักลบกัน  ผลต่าง หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจะเป็น ลูกหนี้-สรรพากร  หรือ  ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ  จะเป็น  เจ้าหนี้-สรรพากร

2.  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม        เชาวลีย์  พงศ์ผาติโรจน์  และ  วรศักดิ์  ทุมมานนท์  กล่าวถึง ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ไว้ว่า     ภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำมาใช้ในประเทศไทยเป็นแบบเต็มรูป  คือ  จะครอบคลุมทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิต  การค้าส่ง  และการค้าปลีก  ดังนั้นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก  ผู้ผลิตสินค้า  ผู้ให้บริการ  ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก  ตลอดจนผู้นำเข้าสินค้าและผู้ส่งออก  ไม่ว่าจะประกอบการในรูปแบบบุคคลธรรมดา  คณะบุคคล  ห้างหุ้นส่วน  บริษัทจำกัด  หรือนิติบุคคลใดก็ตาม                ระดับรายได้เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณากำหนดผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ดังนี้1.   ผู้ประกอบการที่มีรายได้ระหว่างปีละ  600,000  ถึง  1,200,000  บาท  มีสิทธิเลือกว่าจะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ  1.5  จากรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรืออัตราร้อยละ  7  โดยคำนวณภาษีที่ต้องชำระจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อก็ได้2.   ผู้ประกอบการที่มีรายได้เกินกว่า  1,200,000  บาท  ต้องเข้าสู่ระบบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยการไปจดทะเบียนเข้าในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม     ผู้ประกอบการที่มีรายได้ไม่ถึงปีละ  600,000 บาท  แต่ต้องการจะเข้ามาอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็ย่อมจะทำได้โดยขอจดทะเบียนเข้าในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม  ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มครบวงจรและผู้ประกอบการไม่ต้องแบกภาระภาษีเองด้วยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 82  กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  คือ       

1.   ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ

เป็นปกติธุระไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา  คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคลใด ๆ  หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า  1.8   ล้านบาทต่อปี  มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน      

2.   ผู้นำเข้า  หมายถึง  ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร   ไม่ว่าเพื่อการใดๆ  และให้ความหมายรวมถึงการนำสินค้าที่ต้องเสียอากรขาเข้า  หรือที่ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกโดยมิใช่เพื่อการส่งออก  

3.  บุคคลที่กฎหมายกำหนดเป็นกรณีพิเศษให้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  บุคคลดังต่อไปนี้   เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย  คือ                     

3.1   ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่ตัวแทนดังกล่าว  

3.2   ในกรณีขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ  0    ถ้าภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือโอนสิทธิในบริการนั้นไปให้กับบุคคลที่มิใช่องค์การสหประชาชาติ  ทบวง  การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ  สถานเอกอัครราชทูต  สถานทูตสถานกงสุลใหญ่  สถานกงสุล  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่ ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการดังกล่าว                        

 3.3    ในกรณีสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร  ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มถ้าภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร  ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่

 (ก)  ผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร                                

 (ข)  ผู้รับโอนสินค้า  ถ้ามีการโอนสินค้าดังกล่าว     

3.4   ในกรณีที่การควบกิจการเข้ากัน  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่  ผู้ที่ควบเข้ากันและผู้ประกอบการใหม่    

3.5    ในกรณีโอนกิจการผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่  ผู้โอนและผู้รับโอน 3.  ภาษีซื้อ  ภาษีขาย  ฐานภาษีและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม  เชาวลีย์  พงศ์ผาติโรจน์  และวรศักดิ์  ทุมมานนท์  กล่าวถึงภาษีซื้อ ภาษีขาย  ฐานภาษีและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม  ไว้ว่า                                        ภาษีขาย    คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ  เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามฐานภาษีและอัตราภาษีที่กำหนดนอก

ที่มา http://nuntry.exteen.com/20080827/entry

กฏการเสียภาษีป้ายร้านค้า


กฏการเสียภาษีป้ายร้านค้า

1. ความรู้ทั่วไป

    1.1 ป้ายที่ต้องเสียภาษี

    ป้ายที่ต้องเสียภาษีได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น




    1.2 ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี

        (1) ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ

        (2) ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า

        (3) ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว

        (4) ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์

        (5) ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่

รโหฐาน ทั้งนี้ เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึงป้ายตาม

กฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์

        (6) ป้ายของราชการส่วนกลาง   ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วย

ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

        (7) ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วย

การนั้น ๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ

        (8) ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการ

สหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

        (9) ป้ายของโรงเรียนเอกชน  ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือสถาบัน อุดมศึกษา

เอกชนนั้น

        (10) ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน

        (11) ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ

        (12) ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ

        (13) ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันมีฉบับที่ 2) กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535)

ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้าย สำหรับ

        (ก) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนนหรือรถ

  แทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

        (ข) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน

        (ค) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก (ก) และ (ข) โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตารางเซนติเมตร

    1.3 ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายคือ เจ้าของป้าย   แต่ในกรณีที่ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าไม่มีผู้ยื่นแบบแสดง

รายการภาษีป้าย  (ภ.ป.1) สำหรับป้ายใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้น

เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือที่ดินที่ป้ายนั้น

ติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับและให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินภาษีเป็นหนังสือไปยังบุคคล

ดังกล่าว

    1.4 กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการ

ให้เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายตามแบบและวิธีการที่กระทรวงมหาดไทย

กำหนด ภายในเดือนมีนาคมของปีให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายโดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือ

แสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้ง หรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี และให้คิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละสามเดือน

ของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี ทั้งนี้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

ป้ายที่ติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น และมีพื้นที่เกินสองตารางเมตรต้องมีชื่อและที่อยู่ของเจ้าของป้าย เป็นตัวอักษร

ไทยที่ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้ายและให้ข้อความดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีป้าย ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง

ในกรณีที่เจ้าของป้ายอยู่นอกประเทศไทย ให้ตัวแทน หรือผู้แทนในประเทศ มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแทน

เจ้าของป้าย ถ้าเจ้าของป้ายตาย เป็นผู้ไม่อยู่เป็นคนสาบสูญ เป็นคนไร้ความสามารถหรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถให้

ผู้จัดการมรดก ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไม่ว่าจะเป็นทายาทหรือผู้อื่น ผู้จัดการทรัพย์สิน ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี

มีหน้าที่ปฏิบัติการแทนเจ้าของป้าย เจ้าของป้ายผู้ใด

        (1) ติดตั้งหรือแสดงป้ายอันต้องเสียภาษีภายหลังเดือนมีนาคม ให้เสียเป็นรายงวด

        (2) ติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม และมีพื้นที่ ข้อความ ภาพและเครื่องหมายอย่างเดียวกับป้าย

เดิมที่ได้เสียภาษีป้ายแล้ว ป้ายชำรุดไม่ต้องชำระเฉพาะปีที่ติดตั้ง

        (3) เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีป้ายแล้ว

อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่ม   ป้ายที่เพิ่มข้อความชำระตามประเภทป้ายเฉพาะส่วนที่เพิ่มป้ายที่ลดขนาดไม่ต้อง

คืนเงินภาษีในส่วนที่ลด ถ้าเปลี่ยนขนาดต้องชำระใหม่ ให้เจ้าของป้ายตาม (1) (2) หรือ (3) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย

ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อความ ภาพ หรือ

เครื่องหมายป้ายเดิมแล้วแต่กรณี

    1.5 ฐานภาษีและอัตราภาษี

ฐานภาษีและอัตรา คือเนื้อที่ของป้ายและประเภทของป้ายรวมกัน ถ้าเป็นป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ การคำนวณ

พื้นที่ป้ายให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดเป็นขอบเขตของป้าย ถ้าเป็นป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้ ให้ถือเอาตัว

อักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตสำหรับกำหนดส่วนที่กว้างที่สุดและยาวที่สุด แล้วคำนวณเป็นตาราง

เซนติเมตร เศษของ 500 ตารางเซนติเมตรถ้าเกินครึ่ง ให้นับเป็น 500 ตารางเซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าปัดทิ้ง ประกอบกับ

ประเภทของป้าย คำนวณเป็นค่าภาษีป้ายที่ต้องชำระ โดยกำหนดอัตราภาษีป้ายดังนี้

        (1) ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

        (2) ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่นให้คิดอัตรา

           20 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

        (3) ป้ายดังต่อไปนี้ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

              (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด หรือไม่

              (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

        (4) ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีแล้ว

           อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตราตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี และให้เสีย

           เฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น

        (5) ป้ายทุกประเภทเมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้

           เสียภาษีป้ายละ 200 บาท

2. ขั้นตอนการยื่นเสียภาษี

    ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายสามารถขอรับแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ได้ที่สำนักงานเขตโดยไม่คิดมูลค่า

กรอกรายการในแบบ ภ.ป.1 ตามความเป็นจริงให้ครบถ้วน ลงลายมือชื่อของตนพร้อมวันเดือน ปี ส่งคืนพนักงานเจ้าหน้าที่

แห่งท้องที่ที่ป้ายนั้นได้ติดตั้งหรือแสดงไว้ ทั้งนี้จะนำส่งด้วยตนเอง มอบหมายให้ผู้อื่นไปส่งแทน หรือส่งทางไปรษณีย์ลง

ทะเบียนก็ได้ ให้เจ้าของป้ายหรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อพนักงาน

เจ้าหน้าที่ที่สำนักงานเขตที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่ สำหรับป้ายที่แสดงไว้ที่ยานพาหนะที่ต้องเสียภาษี ให้ยื่น ณ สำนักงาน

เขตซึ่งการจดทะเบียนยานพาหนะได้กระทำในท้องที่นั้น

    2.1 เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบฯ

กรณีป้ายใหม่ ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษี พร้อมสำเนาหลักฐานและลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ได้แก่

    - ใบอนุญาตติดตั้งป้าย, ใบเสร็จรับเงินค่าทำป้าย

    - สำเนาทะเบียนบ้าน

    - บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ/บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี

    - กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท,ทะเบียน

      พาณิชย์และหลักฐานของสรรพากร เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09, ภ.พ.20

    - หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย)

    - หลักฐานอื่น ๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ

    กรณีป้ายเก่า ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษีป้าย (ภ.ป. 1) พร้อมใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย กรณีเจ้า

    ของป้ายเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ป. 1

    2.2 การชำระภาษี

ผู้รับประเมินได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี (ภ.ป.3) ให้ชำระเงินภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการ

ประเมินโดยชำระภาษีได้ที่สำนักงานเขต ซึ่งป้ายนั้นตั้งอยู่หรือที่กองการเงิน สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

(เสาชิงช้า) การชำระภาษีป้ายจะกระทำโดยส่งธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินของธนาคารที่สั่งจ่ายแก่กรุงเทพมหานครก็ได้ โดย

ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และให้ถือว่าวันที่ได้ทำการส่งดังกล่าวเป็นวันชำระภาษีป้าย

    2.3 การขอผ่อนชำระภาษี

ถ้าภาษีป้ายที่ต้องชำระมีจำนวนตั้งแต่สามพันบาทขึ้นไป ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายจะขอผ่อนชำระเป็นสามงวดงวดละ

เท่า ๆ กันก็ได้ โดยแจ้งความจำนงเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี และให้ชำระงวดที่

หนึ่งก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี งวดที่สองภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่หนึ่งและงวดที่สามภายใน

หนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่สอง

    2.4 เงินเพิ่ม

ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย เสียเงินเพิ่มนอกจากเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายในกรณีและอัตราดังนี้

        (1) ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของจำนวนเงินที่

ต้องเสียภาษีป้าย เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึง

การละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย

        (2) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีลดน้อยลง ให้เสีย

เงินเพิ่มร้อยละสิบของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติมเว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูก

ต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน

        (3) ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ต้องเสีย

ภาษีป้ายเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม (1) และ (2) มาคำนวณเป็นเงินเพิ่ม

    2.5 การอุทธรณ์

เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องมีสิทธิอุทธรณ์

การประเมินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยยื่นอุทธรณ์ผ่านพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ฝ่ายรายได้สำนักงานเขตท้องที่ซึ่งยื่น

แบบแสดงรายการภาษีไว้ โดยต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน  ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่ยื่นอุทธรณ์

ภายใน 30 วันหรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยไม่มีเหตุ

อันสมควร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายมีอำนาจยกอุทธรณ์นั้นเสียได้

เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จและแจ้งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์

หากผู้อุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยฟ้องเป็นคดีต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เว้นแต่ในกรณี

ที่เป็นการยกอุทธรณ์ดังได้กล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตามการอุทธรณ์นั้นไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีป้าย เว้นแต่จะได้รับ

อนุมัติจากผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานครว่าให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาของศาลเสียก่อน

    2.6 การขอคืนเงินค่าภาษี

ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลให้มีการลดจำนวนเงินที่ได้ประเมินไว้ให้แจ้งผู้มี

หน้าที่เสียภาษีทราบโดยเร็วเพื่อมาขอรับเงินคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ผู้ใดเสียภาษีป้ายโดยไม่มีหน้าที่ต้อง

เสียภาษีหรือเสียเกินกว่าที่ควรต้องเสียมีสิทธิได้รับเงินคืนโดยยื่นคำร้องขอคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้ชำระเงินค่าภาษี

    2.7 บทกำหนดโทษ

ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือนำพยาน

หลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับ

ตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่

ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท ผู้ใดไม่ปฏิบัติดังนี้คือป้ายที่ติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น และมีพื้นที่เกินสองตารางเมตร

ต้องมีชื่อและที่อยู่เจ้าของป้ายเป็นตัวอักษรไทยที่ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้าย ต้องระวางโทษปรับวันละหนึ่งร้อยบาทเรียง

รายวันตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายคือให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนเป็นหนังสือต่อพนักงาน

เจ้าหน้าที่ภายในสามสิบวันนับแต่วันรับโอน หรือไม่แสดงการเสียภาษีป้าย (ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายแสดงหลักฐานการเสีย

ภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการ) ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยไม่ให้เข้าไปในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหา

รายได้ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย หรือบริเวณที่ต่อเนื่องกับสถานที่ดังกล่าว หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีป้ายใน

ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้ปฏิบัติการถูกต้อง

ตามพระราชบัญญัติหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายมาให้

ถ้อยคำหรือให้ส่งบัญชีหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีป้ายมาตรวจสอบ ภายในกำหนดเวลาอันสมควรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน

หกเดือนหรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตาม

พระราชบัญญัติเป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับ

ความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเปิดร้านขายเหล้าบุหรี่


สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเปิดร้านขายเหล้าบุหรี่

สอดรับกับกฎหมายห้ามขายเหล้าและบุหรี่ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ก็ตามมาด้วยกฎหมายกำหนดเวลาขายเหล้า ระหว่างเวลา 11.00-14.00 น.รอบหนึ่ง และเวลา 17.00-24.00 น.อีกรอบหนึ่ง


ไม่เท่านั้น ยังห้ามขายเหล้ารอบๆ สถานศึกษาและวัดในรัศมี 500 เมตรด้วย
สถานบริการซึ่งก็คือร้านขายเหล้าที่ผ่านการดัดแปลงรูปแบบแล้ว ยังโดนตามจัดระเบียบซ้ำ ว่าด้วยระดับเสียงดังภายในซึ่งคราวนี้จะไม่ให้เปิดเพลงดังเกิน 91 เดซิเบล หลังจากก่อนหน้านี้เพิ่งโดนจัดระเบียบเรื่องร่นเวลาปิดให้เร็วขึ้นมาแล้ว

สิ่งเหล่านี้เป็นปฏิบัติการเพื่อสนองพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเป็นห่วงเยาวชนไทยกำลังมีปัญหาหูตึงกันมาก แล้วก็ไม่สนใจศึกษาเล่าเรียน เนื่องจากสมาธิจิตใจจดจ่ออยู่ที่การเที่ยวดิสโก้เธคมากกว่า

สิ่งที่คนไทยคุ้นเคยอย่างหนึ่ง เห็นจะเป็นการขยับตัวปฏิบัติตามนโยบายกันอย่างฉับไว อันเป็นสไตล์อันโดดเด่นของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลไทยรักไทย แบบที่ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นในรัฐบาลที่ผ่านๆ มา

นอกจากสิ่งที่ออกมาเป็นกฎหมายหรือมาตรการชัดเจนแล้ว ยังมีไอเดียอีกมากมายที่มีการนำเสนอผ่านสื่อมวลชน และอาจแปรเป็นภาคปฏิบัติได้ในอนาคต เช่น

ห้ามสถานพยาบาลในสังกัดสธ.ทุกแห่งจำหน่ายบุหรี่โดยเด็ดขาด และจัดเขตปลอดบุหรี่และจำหน่ายเหล้า-บุหรี่ ให้ส่วนราชการทุกแห่งเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ห้ามแบ่งบุหรี่ขายเป็นมวน ซึ่งเยาวชนมักมีเงินไม่พอซื้อบุหรี่เต็มซอง มักใช้วิธีให้ร้านค้าแบ่งขาย

ควบคุมน้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอล์ และไวน์หลากสีรสซ่า เนื่องจากมีผลวิจัยพบว่า เครื่องดื่มชนิดนี้เป็นต้นเหตุให้เยาวชนหญิงเสียตัวได้มากที่สุด เนื่องจากมีรสหวานและดีกรีต่ำ กว่าจะรู้สึกตัวก็เมาจนครองสติไม่อยู่ไปแล้ว
ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นวันครอบครัวแข็งแรงตามมติคณะรัฐมนตรี

ไม่เพียงรัฐบาลเท่านั้นที่กระฉับกระเฉงในเรื่องนี้ ในส่วนของกทม.ที่มีผู้ว่าฯ ใหม่อย่างนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ก็สนองพระราชดำรัสในหลวงด้วยเช่นกัน ด้วยการแบ่งกลุ่มผู้บริหารกทม. เดินสายสำรวจสถานบันเทิง 5 เส้นทางด้วยกัน ประกอบด้วย ดินแดง ห้วยขวาง บึงกุ่ม ธนบุรี และวัฒนา โดยใช้ 5 มาตรการตรวจสอบ คือ ระดับเสียงดังเกิน 90 เดซิเบล ระดับแสง ระบบระบายอากาศ ทางหนีไฟ และความปลอดภัยจากการก่อการร้าย โดยจะมีสติ๊กเกอร์รับรองมาตรฐาน 5 ด้านให้สำหรับสถานบริการที่ผ่านการตรวจสอบ

สำหรับสถานบันเทิงใกล้สถานศึกษา ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ก็ได้สั่งการให้ทุกเขตสำรวจแล้วทั้งหมด จากนั้นจะวางมาตรการไม่ให้มีการขายเหล้าและบุหรี่รอบสถานศึกษาในระยะ 500 เมตร
คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกทม. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า จากการสำรวจร้านจำหน่ายอาหารในพื้นที่ กทม.ที่มีเพลงเปิดให้ผู้มาใช้บริการฟังด้วยนั้นมีถึง 3,000 กว่าแห่ง แต่หากแยกเป็นสถานบริการที่ขออนุญาตมีดนตรี เต้นรำ รำวง คาราโอเกะ และดิสโก้เธค ตรวจสอบแล้วมีเพียง 111 แห่งเท่านั้น โดยเขตคลองเตยมีปริมาณมากที่สุดคือ 36 แห่ง

แต่การขับเคลื่อนที่ใหญ่ที่สุด เห็นจะเป็นการประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณเป็นประธาน เรียกประชุมผวจ. ผบช. สสจ. ตลอดจนผอ.พื้นที่เขตการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อให้กวดขันการปฏิบัติตามกฎหมายเหล้า-บุหรี่

นายกรัฐมนตรี กล่าวในที่ประชุมดังกล่าวว่า สังคมปัจจุบันมีสิ่งมอมเมาเด็กให้หลงผิดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเกมมอมเมา การชักจูงให้เด็กใช้เงินเกินตัว จนนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย และสุดท้ายก็ไปอยู่ในจุดของการค้าประเวณี
สถานบันเทิงต่างๆ ที่มอมเมาเยาวชน นอกจากนี้สิ่งที่ต้องเร่งแก้ไขเร่งด่วนคือมลภาวะทางหู ที่ตามแหล่งสถานบันเทิงต่างๆ แข่งกันเปิดเพลงเสียงดัง เพราะรู้ว่าเด็กชอบ จะต้องกวดขันให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
นอกจากนี้ในเมืองใหญ่ๆ ที่มีปัญหาการดัดแปลงรถยนต์โดยใช้ท่อไอเสียขนาดใหญ่ เสียงดังๆ เพื่อมาวิ่งแข่งรถกันนั้น ขอให้เจ้าหน้าที่จัดการ เพราะในการแข่งรถบางครั้ง นอกจากจะมีการพนันยึดรถกันเองแล้ว ผู้หญิงที่ซ้อนท้ายจะถูกแลกเปลี่ยนจนเกิดปัญหาสวิงกิ้ง มันทุเรศมาก และน่าเกลียด ตรงนี้จะต้องจัดการ

ขั้นตอนการผลิตนํ้าดื่ม


ขั้นตอนการผลิตนํ้าดื่ม


นับวัน ความต้องการบริโภคนํ้าดื่มบรรจุขวดจะเพิ่มขึ้น
ตามจำ นวนประชากรและรายได้ของครัวเรือน ส่งผลให้ผู้
ประกอบการรายใหม่ๆ ที่มองเห็นโอกาสทางการตลาด เข้าสู่
ธุรกิจนํ้าดื่มบรรจุขวดเป็นจำ นวนมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็ก
แม้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา อุตสาหกรรมผลิตนํ้าดื่มจะขยาย
ตัวค่อนข้างสูง ทว่า ธุรกิจนี้ได้ประสบกับภาวะการแข่งขันมาก
ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการลงทุนในธุรกิจนี้ ควรศึกษาข้อมูล
ดังต่อไปนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- การจัดตั้งธุรกิจ/รูปแบบธุรกิจ
รายละเอียดการจัดตั้งธุรกิจ / การขออนุญาต ผูส้ นใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2544 สำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้
กำ หนดให้ธุรกิจนํ้าดื่มบรรจุขวด เป็นหนึ่งในสินค้าที่ต้องกำ หนดวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการ
ผลิต และการเก็บรักษาสินค้าตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีหรือจีเอ็มพี (Good Manufacturing
Practice : GMP) ในการผลิตนํ้าดื่ม GMP มีผลบังคับใช้กับผู้ประกอบการนํ้าดื่มรายใหม่ในวันที่
24 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป ส่วนผู้ประกอบการรายเดิมมีเวลาปรับปรุง เพื่อให้ถูกต้องตามมาตร
ฐานเป็นเวลา 2 ปี หรือเริ่มบังคับใช้วันที่ 24 กรกฎาคม 2546 สำ หรับสาระสำ คัญของมาตรฐาน
GMP ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขมี 11 ประเด็น สรุปได้ ดังนี้

1. สถานที่ผลิตและอาคารที่ผลิต จะต้องตั้งอยู่ในพื้นที่สะอาด ไม่มีการสะสมของสิ่งเหลือใช้ หรือ
สิ่งปฏิกูลต่างๆ รวมทั้งต้องมีวิธีป้องกันสิ่งปนเปื้อน ทั้งฝุ่นละออง เชื้อโรค แมลงและสัตว์นำ โรค
สถานที่ผลิตจะต้องถูกออกแบบก่อสร้างให้มีลักษณะง่ายต่อการทำ ความสะอาดนอกจากนี้ ต้อง
แบ่งแยกพื้นที่การผลิตเป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันการปนเปื้อน ประการสำ คัญ ต้องแยกพื้นที่สำ หรับ
ผลิตสินค้าออกจากบริเวณที่อยู่อาศัยและห้องนํ้าห้องส้วมอย่างชัดเจน

2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต จะต้องมีจำ นวนเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ติดตั้งในตำ แหน่งที่เหมาะสม สามารถทำ ความสะอาดได้ง่าย และถูกล้างทำ ความสะอาดฆ่าเชื้ออย่างเพียงพอทั้งก่อนและหลังการผลิต

3. แหล่งนํ้า แหล่งนํ้าที่นำ มาใช้ผลิตนํ้าดื่มต้องห่างจากแหล่งโสโครกและสิ่งปฏิกูล โดยผู้ผลิตต้อง
เก็บตัวอย่างนํ้าไปตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมี กายภาพ และจุลินทรีย์อย่างน้อยปีละ 1
ครั้ง
4. การปรับคุณภาพน้ำ ผู้ประกอบการตอ้ งปรับคุณภาพของแหล่งน้ำ ตามข้อ 3 เพื่อกำ จัดสิ่งปน
เปื้อน ใหอ้ ยูใ่นระดับที่กฎหมายกำ หนด
5. ภาชนะบรรจุ ต้องทำ จากวัสดุไม่มีพิษ และได้รับการทำ ความสะอาดก่อนนำ มาใช้
6. สารทำ ความสะอาดและฆ่าเชื้อ ผู้ผลิตจะต้องทดสอบประสิทธิภาพการทำ ความสะอาดและ
การฆ่าเชื้อ
7. การบรรจุ ด้วยเครื่องบรรจุที่มีประสิทธิภาพและสะอาด
8. การควบคุมคุณภาพมาตรฐาน ผูป้ ระกอบการต้องตรวจวิเคราะห์น้ำ ดื่มที่ผลิต ทั้งด้านจุลินทรีย์
เคมี ฟิสิกส์ เป็นประจำ
9. การสุขาภิบาล ผู้ผลิตต้องมีวิธีกำ จัดสัตว์และแมลง รวมทั้งระบบกำ จัดของเสียในโรงงานที่
เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนกับสินค้าที่ผลิต
10. บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน ผูป้ ฏิบัติงานต้องไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง รวมทั้งจะต้อง
รักษาร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ ในขณะที่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน หากเข้ามาในพื้นที่
ผลิต ก็ต้องรักษาความสะอาดของร่างกายด้วยเช่นกัน
11. บันทึกและรายงาน ผูผ้ ลิตตอ้ งบันทึกและรายงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์น้ำ สภาพการ
ทำ งานของเครื่องกรองหรือเครื่องฆ่าเชื้อโรค รวมทั้งคุณภาพของนํ้าดื่ม ทั้งด้านเคมี ฟิสิกส์ และ
จุลชีววิทยา
กลุม่ ลูกค้าสามารถแบ่งตามลักษณะการบรรจุของน้ำ ดื่มได้ ดังนี้
1. น้ำ ดื่มบรรจุขวด กลุม่ ลูกคา้ จะเป็นกลุ่มบุคคลทั่ว ๆ ไป ที่ต้องการดื่มน้ำ ในปริมาณไม่มาก
หาซื้อง่าย สะดวกต่อการพกพาและการเดินทาง จะเห็นได้ว่าตามร้านค้าทั่ว ๆ ไป มีนํ้าดื่มบรรจุ
ขวดอยูห่ ลายขนาด เพื่อจำ หน่ายให้กับผู้บริโภค
2. น้ำ ดื่มบรรจุถัง กลุม่ ลูกคา้ จะเปน็ กลุ่มอาคารบ้านเรือน อาคารสำ นักงาน โรงงาน เป็นต้น น้ำ
ดื่มบรรจุถังมีราคาถูก และมีนํ้าปริมาณมาก
หมายเหตุ
1. ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงการให้ความรู้เบื้องต้นเท่านั้น
2. การเก็บข้อมูลได้ดำ เนินการในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์
ต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบต่อธุรกิจ

เเนวทางการเปิดร้านค้าปลีกสมัยใหม่

เเนวทางการเปิดร้านค้าปลีกสมัยใหม่

การเปิดร้านค้าปลีกสมัยใหม่คือ

เอาง่ายๆเลย คือ สินค้าหลากหลาย ต้องเดินสะดวก หยิบของได้ง่าย ชำระเงินได้เร็ว มีเเอร์  เเค่นี้เเหละครับ
เพิ่มเติม
ประเภทธุรกิจค้าปลีก

รูปแบบธุรกิจค้าปลีก

ประเภทธุรกิจค้าปลีก รูปแบบธุรกิจค้าปลีก พัฒนาเปลี่ยนจากร้านค้าเล็กๆ เป็นขนาดใหญ่ ต้นทุนดำเนินงานสูงกว่ารูปแบบเดิม บริหารงานเป็นระบบมากขึ้น และใช้บุคลากรดำเนินการจำนวนมาก ปัจจุบัน จำแนกธุรกิจค้าปลีกได้ตามลักษณะสินค้า และการดำเนินงาน ดังนี้

ร้านค้าปลีกดั้งเดิม (Tradition Trade) หรือร้านโชห่วย ลักษณะร้านเป็นห้องแถว พื้นที่คับแคบ ไม่มีการตกแต่งหน้าร้านมากมาย สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค การจัดวางสินค้าไม่เป็นหมวดหมู่ และไม่ทันสมัย และจัดวางตามความสะดวกการหยิบสินค้า

เป็นกิจการดำเนินงานโดยเจ้าของคนเดียว หรือร่วมกันตั้งเป็นห้างหุ้นส่วน ดำเนินธุรกิจแบบครอบครัว เงินลงทุนน้อย บริหารงานง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ไม่มีการใช้เทคโนโลยีทันสมัย ทำให้ระบบการจัดการไม่ได้มาตรฐาน ลูกค้าเกือบทั้งหมดอยู่บริเวณใกล้เคียงร้านค้า ร้านค้าที่จัดอยู่ประเภทนี้ เช่น ร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีกทั่วไป ร้านขายของชำ

ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ประกอบด้วย ห้าง/ร้านขนาดกลาง-ใหญ่ ออกแบบร้าน และจัดวางสินค้าเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสวยงาม และเป็นระเบียบ บริการทันสมัย เพื่อดึงดูดลูกค้าใช้บริการมากขึ้น การดำเนินธุรกิจ มีทั้งแบบครอบครัวและมืออาชีพ ลงทุนสูงขึ้น และระบบจัดการบริหารงานซับซ้อนมากขึ้น ธุรกิจการค้าแบบใหม่นี้ ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจ 2 รูปแบบ คือ Discount Store หรือ Hypermarket ซึ่งเน้นสินค้าราคาถูก และ Convenience Store ซึ่งเน้นจำนวนสาขา ความสะดวกสบาย สถานที่ตั้งอยู่ใกล้กับผู้บริโภค เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง ธุรกิจรูปแบบนี้ เพิ่งนำเข้าไทยราวต้นทศวรรษ 1990 ทั้งลักษณะร่วมทุนต่างชาติ และนักลงทุนชาวไทยเป็นเจ้าของ ทว่าผลพวงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และผลกระทบเปิดเสรีการค้า ส่งผลธุรกิจค้าปลีกส่วนใหญ่ในไทยตกเป็นของชาวต่างชาติ ธุรกิจที่จัดอยู่ค้าปลีกประเภทนี้ ได้แก่

ห้างสรรพสินค้า (Department Store) ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ เป็นศูนย์รวมสินค้าทุกชนิดที่มีคุณภาพ เพื่อจำหน่ายให้ลูกค้าจำนวนมาก ทุกระดับ ครบวงจร (One Stop Shopping) จัดวางสินค้า แบ่งเป็นหมวดหมู่ชัดเจน เพื่อสะดวกการค้นหาและเลือกซื้อ เน้นจำหน่ายเสื้อผ้า เครื่องสำอาง รองเท้า กระเป๋า รูปแบบบริหาร และจัดการ ค่อนข้างซับซ้อน พนักงานมาก และเน้นบริการที่สะดวก รวดเร็ว สร้างความประทับใจให้ลูกค้า ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มคนทำงานที่มีฐานะ อำนาจซื้อสูง สามารถเลือกซื้อสินค้าคุณภาพ

และราคาสูงได้ สถานที่ตั้ง จะอยู่บริเวณชุมชน หรือเป็นศูนย์รวมการค้า ผู้ประกอบการประเภทนี้ เช่น ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เดอะมอลล์ โรบินสัน ตั้งฮั่วเส็ง พาต้า เป็นต้น

ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (Supper Center) ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ พัฒนาจากซูเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้า พื้นที่ขายประมาณ 10,000-20,000 ตารางเมตร เน้นจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่หลากหลายและมีมาก ราคาประหยัด คุณภาพสินค้า ตั้งแต่คุณภาพดีจนถึงคุณภาพปานกลาง ส่วนใหญ่กว่า 60% เป็นอาหาร ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่มระดับปานกลางลงมา ผู้ประกอบการประเภทนี้ เช่น บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส คาร์ฟูร์ เป็นต้น

ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) ร้านค้าปลีกเน้นจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นสินค้าสดใหม่ โดยเฉพาะอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ อาหารสำเร็จรูปต่างๆ ตลอดจนสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ทำเลที่ตั้งส่วนใหญ่ จะอยู่ชั้นล่างห้างสรรพสินค้า เพื่อความสะดวกขนถ่ายสินค้า ตัวอย่างผู้ประกอบการประเภทนี้ เช่น ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ฟู้ดแลนด์ เป็นต้น

ร้านค้าเงินสดและบริการตนเอง (Cash & Carry) จำหน่ายสินค้าให้ร้านค้าย่อย หรือบุคคลที่ต้องการซื้อสินค้าคราวละจำนวนมาก ราคาขายส่ง หรือราคาค่อนข้างต่ำ ซึ่งจะเอื้อร้านค้าย่อย หรือร้านโชห่วย หาสินค้ามาจำหน่ายได้เพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องผ่านยี่ปั๊ว ซาปั๊ว จำหน่ายสินค้าคุณภาพปานกลาง ส่วนใหญ่กว่า 60% เป็นสินค้าไม่ใช่อาหาร ที่เหลือเป็นอาหาร ลูกค้ายังสามารถสมัครเป็นสมาชิก เพื่อรับข่าวสารเป็นประจำ ที่สำคัญ ลูกค้าต้องบริการตัวเอง จึงมีพนักงานไม่มากนัก ผู้ประกอบการประเภทนี้ เช่น แม็คโคร

ร้านค้าเฉพาะอย่าง (Specialty Store) จำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่าง เน้นสินค้าอุปโภคบริโภคเกี่ยวกับเวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง ดูแลผิว ดูแลเส้นผม เป็นสินค้าหลากหลาย ตามลักษณะแฟชั่นและยุคสมัย สินค้าคุณภาพสูง บริการสะดวกและทันสมัย กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือลูกค้าทั่วไป ผู้ประกอบการประเภทนี้ เช่น บู๊ทส์ วัตสัน MARK & SPENCER เป็นต้น

ร้านค้าประชันชนิด (Category Killer) พัฒนาจากร้านขายสินค้าเฉพาะประเภท จุดเด่นคือ สินค้าครบถ้วนประเภทนั้นๆ คล้ายแยกแผนกใดแผนกหนึ่งในห้างสรรพสินค้าออกไว้ต่างหาก นำสินค้าคุณภาพ และลักษณะใช้งานใกล้เคียงกัน แต่ราคาและยี่ห้อต่างกัน จัดวางประชัน เพื่อให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบคุณภาพ และราคาสินค้า ผู้ประกอบการประเภทนี้ ได้แก่ แม็คโครออฟฟิศ พาวเวอร์บาย พาวเวอร์มอลล์ ซูเปอร์สปอร์ต เป็นต้น

ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) หรือ Minimart ร้านค้าปลีกพัฒนาจากร้านค้าปลีกแบบเก่า หรือร้านขายของชำผสมผสานกับซูเปอร์มาร์เก็ต แต่ขนาดเล็กกว่า ให้ความสำคัญทำเลที่ตั้งร้านค้าเป็นสำคัญ พื้นที่ค้าขายไม่มากนัก ส่วนใหญ่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน รวมทั้งอาหารและเครื่องดื่มประเภทอาหารจานด่วน สั่งเร็วได้เร็ว สะดวก ราคาไม่แพงเกินไป ทำเลตั้งแหล่งชุมชน

สถานที่บริการน้ำมัน มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่ต้องการความสะดวก ต้องการซื้อสินค้าใกล้บ้านหรือใกล้สถานที่ทำงาน และที่สำคัญเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ประกอบการประเภทนี้ เช่น 7-eleven am/pm และ Family Mart เป็นต้น

“วันหน้าทุกคนจะเชื่อในสิ่งที่ผมพูด”

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.)

กล่าวให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับทิศทางการลงทุนของเครือซี.พี.ในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีก ภายหลังจากการทำพิธีซูเปอร์แบรนด์มอลล์ ที่เซี่ยงไฮ้ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2545 ที่ผ่านมาว่า

ในเมืองไทยธุรกิจค้าปลีก ซี.พี.เหลือแต่เซเว่น-อีเลฟเว่นเท่านั้น เพราะเราไปเน้นในประเทศจีน นอกจากซูเปอร์แบรนด์มอลล์ที่เซี่ยงไฮ้แล้ว ยังให้ความสำคัญกับโลตัสเป็นพิเศษ ลงทุนเท่าไหร่เท่ากัน เพราะตนขายของถูก อย่างในมอลล์ต้องขายของแพง ขายให้คนมีเงิน แต่สำหรับโลตัสจะขายให้กับมหาเศรษฐีลงไปจนถึงยาจก ทุกชนชั้นมีสิทธิที่จะเข้ามาซื้อของในโลตัส เพราะคนรวยก็มีสิทธิซื้อของถูก

นอกจากนี้ นายธนินท์กล่าวให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาค้าปลีกเมืองไทยว่า

ร้านโชห่วยเมืองไทยที่เดือดร้อนกันอยู่ในเวลานี้ เพราะยังคิดแบบเก่าๆ ว่า ต้องการกำไรมากๆ พอกำไรมากๆ คนก็ไม่ซื้อ แต่ถ้ากำไรน้อย ขายมาก เรากำไร 2% ขายไป 10 คู่ ในเนื้อที่เท่ากัน ใช้เวลาเท่ากัน ค่าใช้จ่ายเท่าเดิม มันก็มีกำไร 20% เพราะฉะนั้นการค้าปลีกสมัยใหม่เปลี่ยนยุค ไม่ใช่คนขายถูกแล้วไปห้ามเขาว่าขายไม่ได้ และไปปกป้องคนขายแพง รัฐบาลจะต้องมาส่งเสริมฝึกอบรม จัดให้ร้านค้าปลีกมีประสิทธิภาพ และทำของแพงให้มีราคาถูกให้ประชาชน

การเป็นรัฐบาลที่ถูกต้อง ต้องเข้าข้างคนซื้อ คือ ผู้บริโภค ไม่ใช่เข้าข้างคนขาย แต่แน่นอน การเป็นรัฐบาลก็ต้องดูแล คนขายของถือเป็นลูก ก็ต้องดูแล แต่การดูแลต้องถูกวิธี ทำให้เขาเข้มแข็งขึ้น ไม่ใช่กลับไปถอยหลังเข้าคลอง ปกป้องความล้าหลัง

เมื่อก่อนเราพัฒนาจากแบกะดิน แผงลอย หาบเร่ รถเข็น ร้านค้า นี่คือประวัติค้าปลีกของโลก จากนั้นก็พัฒนามาเป็นดีพาร์ตเมนต์สโตร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์สโตร์ แต่เวลานี้รัฐบาลไทยกำลังใช้วิธีเพื่อให้ค้าปลีกไทยกลับไปที่เดิม ตนอาจจะพูดผิด แต่เอาความจริงมาพูด เพราะทุกท่านยังไม่รู้ว่า ตนเอาพลังงานทั้งหมดมา อยู่ที่นี่เมืองจีน โลตัสตนเหลือหุ้นอยู่นิดเดียว แม็คโครตนก็ถอนหุ้น เหลือแต่เซเว่น-อีเลฟเว่น แต่ที่พูด ตนพูดเพื่อประเทศชาติ

” วันนี้อาจจะไม่เข้าใจ แต่วันหน้าตนว่าทุกคนจะเข้าใจสิ่งที่ตนพูดวันนี้”

ART คัมภีร์ต่ออายุโชห่วย “ท่าดีทีเหลว”

รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ เสนอตั้ง “บริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด” ชื่อภาษาอังกฤษ Allied Retail Trade : ART เป็นหน่วยงานเอกชนดำเนินการโดยไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งผ่าน ครม. 7 พ.ค. ตั้งเป็นทางการ 25 มิ.ย. ที่ผ่านมา บริษัทดังกล่าว ทุนจดทะเบียน 395 ล้านบาท ให้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) ถือหุ้น 49% สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดย่อม (สสว.) ถือหุ้น 51% เริ่มเปิดดำเนินการต้น ก.ย. แนวทางดำเนินงานเน้นความเป็นเอกเทศ และอิสระการบริหารจัดการองค์กรรูปแบบบริษัทเอกชน ซึ่งกรรมการบริหารจะมีอิสระการตัดสินใจด้วยตนเอง กรอบนโยบายดำเนินธุรกิจบริษัทเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย ให้อยู่รอด และเข้มแข็ง เวทีการค้าระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ อีกทั้งยังทำหน้าที่บริการสนับสนุนด้านการเงิน การลงทุน และสินเชื่อธุรกิจสมาชิก ผ่านกระบวนการจัดการจากหน่วยงานต่างๆ

รวมทั้งส่งเสริมความรู้วิทยาการสมัยใหม่ ตลอดจนให้คำปรึกษาบริการจัดการร้านค้าปลีกค้าส่งต่อเนื่องแก่สมาชิก เป้าหมายโครงการดังกล่าว คาดว่าจะทำให้ร้านค้าปลีกรายย่อยแข่งขันด้านราคา ต้นทุน กับร้านค้าปลีก ที่เป็นกลุ่มทุนต่างชาติรูปแบบต่างๆ ได้ การจัดตั้งบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็งนับเป็นแนวทางหนึ่งที่เป็นรูปธรรม เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและสามารถช่วยลดปัญหาให้กับผู้ค้าปลีกรายย่อยได้ดีระดับหนึ่ง อย่างน้อยก็เป็นการยืดอายุธุรกิจค้าปลีกรายย่อย หรือโชห่วยให้ได้มีลมหายใจในอันที่จะต่อสู้กับร้านค้าปลีกกลุ่มทุนต่างชาติทั่วไปได้บ้างในสถานการณ์เฉกเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่มา ณ วันนี้ก็เกิดอาการเป๋เสียแล้ว เพียงแค่เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีจากนายเนวิน ชิดชอบ ที่นั่งแป้นปลุกปั้นมากับมือ แต่พอนายวัฒนา เมืองสุข “เขยขวัญซี.พี.” มานั่งคุมแทน อาการฝันร้ายก็เกิดขึ้นกับโครงการนี้เสียแล้ว

ที่มา http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2002q4/article2002dec21p3.htm